Translate

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พร้อมจ่าย (Prompt Pay) ใช้งานอย่างไรดี (ตอนที่ 2)

             เมื่อคราวที่แล้วผมได้พูดถึงระบบบริการโอนเงินและรับเงินโอนรูปแบบใหม่  ที่ผูกบัญชีเงินฝากธนาคารกับ หมายเลขบัตรประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นแผนยุทธศาตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (เนชั่นแนล อี เพย์เม้นท์) เพื่อพัฒนาระบบชำระเงินและลดต้นทุนการใช้เงินสด นั่นก็คือระบบ Prompt Pay นั่นเอง

              เราได้รู้แล้ว่าระบบนี้คืออะไร ทำงานยังไง ไปเป็นส่วนหนึ่งของมันยังไง และมันมีข้อดี-ข้อเสียยังไงบ้าง  ทีนี้เมื่อเราเห็นข้อเสียมันไปแล้ว เราจะหนี ปิดประตูไม่ไปใช้งาน โดยไม่สนใจข้อดีของมันเลยไหม หรือจะหาทางอยู่กับมัน เลี่ยงข้อเสีย แล้วใช้งานข้อดีของมัน

              วันนี้เราจะมาลองหาวิธีดูว่าเราจะให้งาน Prompt Pay กันอย่างไรดี ถึงจะเลี่ยงข้อเสียและใช้งานข้อดีของมันได้

เลี่ยงข้อเสีย
  1. จะมีคนเข้ามา hack ระบบ Prompt Pay แล้วมาเอาเงินของเราไปไหม: การที่จะ hack ระบบเข้ามาได้ มันต้องผ่านระบบป้องกันของทางธนาคารเข้ามาก่อน ดังนั้นถ้าจะถึงขนาด hack ตัว Prompt Pay ระบบ internet banking หรือ mobile banking คงโดน hack ไปก่อนแล้ว ถึงจะมาถึง Prompt Pay ได้
  2. จะมีคนมาบังคับให้เราโอนเงินจาก Prompt Pay ผ่านมือถือเราไปให้เขาไหม: พยายามลงทะเบียนใช้งาน Prompt Pay ผ่านเลขที่บัตรประชาชน ให้บัญชีนั้นเป็นบัญชีรับเงินอย่างเดียว พยายามอย่าให้บัญชีที่ผูกกับ Prompt Pay มีเงิน เมื่อมีเงินเข้ามา ให้รีบโอนออกทันที
  3. รัฐจะมาสอดส่องการใช้เงินเราได้ไหม: อันนี้มีสิทธิ์เป็นไปได้สูงและหลบไม่ได้ถ้าเราเข้ามาอยู่ในระบบนี้ เพราะระบบนี้รัฐเป็นตัวตั้งตัวตี ทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นผ่านระบบ Prompt Pay จะโดน monitor โดยรัฐหมด แล้วเราจะเลี่ยงตรงนี้อย่างไรดี เราก็อย่าผูกบัญชีหลักไว้กับ Prompt Pay รัฐใช้วิธีหลอกล่อในเรื่องของความสะดวกจนทำให้เราเผลอเอาบัญชีที่ให้บ่อยเช่น บัญชีเงินเดือนไปผูกเอาไว้ ที่นี้หล่ะรัฐจะรู้ทุกการจับจ่ายของเรา
  4.  ถ้าโอนเงินผ่าน Prompt Pay แม้จะธนาคารเดียวกัน ถ้าเกิน 5000 บาทก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม: คนทั่วไปเวลาที่จะโอนเงินข้ามธนาคารจะคอยหว่างเรื่องค่าธรรมเนียม แต่จะเคยชินว่าถ้าเป็นธนาคารเดียวกันจะไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่เมื่อเรามาใช้ระบบ Prompt Pay แม้จะธนาคารเดียวกัน ถ้าโอนเงินกิน 5000 บาทก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมนะครับ วิธีที่ดีที่สุดที่จะเลี่ยงคือ โอนเงินภายในธนาคารเดียวกัน อย่าโอนผ่าน Prompt Pay


รู้หรือไม่ บัญชีเดียวกันสามารถสลับเลือกได้ว่าจะใช้งานผ่านระบบปกติ หรือ ระบบ  Prompt Pay 




จากรูปจะเห็นว่า ทั้ง 2 บัญชีนี้เป็นบัญชีเดียวกัน ต่างกันตรงที่ว่าเข้าใช้งานบัญชีนี้ด้วยระบบอะไร


ใช้งานข้อดี
  1. รับเงินทางรัฐได้อย่างสะดวกการที่เราใช้งาน Prompt Pay ทำให้เรารับเงินจากทางรัฐได้สะดวกเช่น รับเงินภาษีคืน การรับเบี้ยยังชีพทั้งผู้สูงอายุและคนพิการ ทั้งนี้เราควรเปิดบัญชีแยกใช้ผูกกับ Prompt Pay เพื่อรับเงิน และแน่นอนทางรัฐจะทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านทางเลขที่บัตรประชาชน เพราะรัฐจะมีข้อมูลตรงนี้ไว้อ้างอิงตัวตนเราอยู่แล้ว
  2. ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินต่างธนาคารต่ำถ้าโอนเงินต่างธนาคารต่ำกว่า 5000 บาท ไม่เสียค่าธรรมเนียม ดั้งนั้นเราควรใช้บัญชี Prompt Pay เป็นทางผ่านในการโอนเงินเพื่อลดค่าธรรมเนียม ถ้าโอนต่างธนาคาร อันไหนที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องทำผ่าน Prompt Pay
สรุป

ปกติเวลาใช้งาน net bank ตอนลงทะเบียนผูกบัญชี สังเกตเห็นว่า มันมีให้เลือกว่าจะเข้าบัญชีนี้แบบปกติหรือว่าจะเข้าแบบ Prompt Pay (บัญชีเดียวกันเข้าได้ 2 แบบ) ดังนั้น
  • โอนต่างธนาคารหรือต่างพื้นที่ก็ทำผ่าน Prompt Pay
  •  โอนธนาคารเดียวกันพื้นที่เดียวกันก็โอนผ่านระบบปกติหรือไม่ก็โอนหน้าเคาเตอร์


แล้วในระบบ net bank เราสามารถมีได้มากกว่า 1 บัญชี (เช่น มีบัญชีออมทรัพย์ชื่อเดียวกัน แต่คนละสาขา หรือสาขาเดียวกันก็ได้)

 



ที่นี้ใครอยากจะรับสิทธิประโยชน์โดยไม่ยุ่งกับบัญชีหลักก็น่าจะทำแบบนี้ได้
  1. เปิดบัญชีออมทรัพย์ใหม่ขั้นต่ำ(น่าจะ 1000 มั้ง) 
  2. บอกพนักงานไปว่าไม่เอา ATM (ปีนึงค่าธรรมเนียมบัตรต่ำๆก็ตั้ง 300 กว่าบาท)
  3. ขอสมัคร Prompt Pay โดยผูกบัญชีผ่านบัตรประชาชน (เวลารัฐโอนทำผ่านเลขที่บัตรประชาชน)
  4. มื่อสมัครทุกอย่างเรียบร้อย ก็ถอนเงิน 1000 ออกตอนนั้นเลย  
  5. เอาบัญชีนี้ไว้รอรับเงินอย่างเดียว


ทิ้งท้าย
  • ใครก็สมัคร Prompt Pay ได้เพื่อรับสิทธิประโยชน์
  • ไม่จำเป็นต้องผูกกับบัญชีหลัก/บัญชีเงินเดือน เพื่อให้ใครมารู้การเงินของเรา
  • รัฐบอกว่าทำไว้รับความสะดวกจากการรับเงินจากทางภาครัฐ ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักคือเอาไว้รับเงิน
  • สำหรับคนที่มี net bank ให้ใช้บัญชีนี้เป็นทางผ่านเพื่อโอนเงินต่างธนาคาร
  • เราสามารถยกเลิก Prompt Pay ได้ตลอดเวลาถ้าไม่พอใจ

1 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าเราผูกบันชีกับหมายเลขโทรศัพรัฐสามารถโอนเงินเข้าได้ไหมค่ะแล้วถ้าเราใช้แต่ชื่อบันชีได้ไหมค่ะ

    ตอบลบ