Translate

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อยากเสี่ยงโชค มีเงินใช้ทุกเดือน แต่ไม่อยากเสียเงินต้น!!!

     

     หลายๆ คนคงจะเคยมีความคิดว่า อยากได้เงินมาใช้หน่อยก็คงดี จะทำอย่างไรดีหล่ะ ว่าแล้วก็คว้าเงิน 80 บาท ไปซื้อลอตเตอรี่มาเสี่ยงโชคสักคู่ก็แล้วกันเผื่อจะมีลาภกับเขาบ้าง อย่างน้อยถูกรางวัลเลขท้าย 2 ตัวก็ยังดี ได้เงินตั้ง 2000 แหน่ะ

อ่าว...แล้วถ้าไม่ถูกหล่ะ??
ก็เสียเงิน 80 บาท ไง
80 บาท แค่นี้จิ๊บๆ

     ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินคำปลอบใจตัวเองแบบนี้อยู่บ่อยๆ เรามาลองคำนวณเล่นๆดูว่า ถ้าเราซื้อลอตเตอรี่เดือนละครั้งเป็นเวลา 3 ปี จะเป็นเงินเท่าไหร่

80 x 36 = 2,880 บาท

     ถ้าไม่ถูกรางวัลเลย 3 ปีเราทิ้งเงินไป 2,880 บาท แล้วถ้าเราไม่ยอมหล่ะ อย่างน้อยอยากขึ้นชื่อได้ว่าถูกลอตเตอรี่ครั้งนึงในชีวิต เราต้องใช้เงินซื้อเท่าไหร่ เราก็ต้องมาดูก่อนว่า โอกาสถูกเลขท้าย 2 ตัวเป็นเท่าไหร่ คำตอบคือ 1 ใน 100 พูดง่ายๆก็คือ ถ้าอยากจะถูกลอตเตอรี่ให้ได้ต้องซื้อลอตเตอรี่เลขเลี่ยงกัน 100 ใบ ตั้งแต่เลข xxxx00 – xxxx99 แล้วมันเป็นเงินเท่าไหร่หล่ะ

80 x 100 = 8,000 บาท

     งวดเดียวจ่ายเงิน 8,000 บาท เพื่อได้เงิน 2,000 บาท ขาดทุน 6,000 บาท คุ้มไหม???

เสียมากกว่าได้
     
     เราเห็นแล้วว่า
  • ถ้าเราซื้อลอตเตอรี่แค่ใบเดียวโอกาสที่จะถูกรางวัลเลขท้าย 2 ตัว มีแค่ 1 ใน 100  ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่จะถูกรางวัล
  • ถ้าเราเลือกซื้อตัวเลขให้ครอบคลุมรางวัลเลขท้าย 2 ตัว ก็ต้องใช้จำนวนเงินที่เยอะกว่ารางวัลที่ได้ ทำให้เราขาดทุนแน่ๆ เพราะเลขรางวัลที่ไม่ถูกเราจะไม่ได้เงินคืน


     แล้วทำยังไงที่เราจะสามารถเสี่ยงโชคแล้วไม่เสียเงินต้นด้วย อันนี้ไม่ได้พูดถึงการให้เลขเด็ดหรือสอนเล่นการพนันแต่อย่างใด แต่มันเป็นรูปแบบของการเสี่ยงโชคบวกกับการออมนั่นเอง แล้วมันคืออะไรหล่ะ คำตอบก็คือ.......... การซื้อสลากออมสิน หรือ สลาก ธ.ก.ส. นั่นเอง




สลากออมสินและสลาก ธ.ก.ส. ดียังไง


 
(ข้อมูลเพิ่มเติม: สลากออมสิน, สลาก ธ.ก.ส.)

  • ซื้อสลาก 1 หน่วย( 1 ใบ) สามารถมีสิทธิ์เสี่ยงโชค 36 ครั้ง หรือ 3 ปีนั่นเอง
  • มีรางวัลต่างๆ มากมายให้เสี่ยงโชค รวมถึงรางวัลเลขท้าย
  • ถ้าภายใน 3 ปีไม่ถูกรางวัลอะไรเลย เราสามารถได้เงินคืน แถมด้วยเงินปลอบใจอีกนิดหน่อย
     เป็นอะไรที่สุดๆไปเลย ถูกหรือไม่ถูกรางวัลก็ได้เงินคืน มีเงินแถมให้อีกนิดหน่อยด้วย ถ้าเป็นแบบนี้เราก็สามารถซื้อจำนวนสลากให้ครอบคลุมรางวัลเลขท้ายเพื่อให้ถูกรางวัลแล้ว เพราะเลขที่ไม่ถูกรางวัลเราก็ได้เงินคืน มันจะดีอะไรอย่างนี้เนี่ย ^^

มีเงินใช้ทุกเดือนได้สบายๆ


   จากการที่เราได้เงินคืนเมื่อสลากครบอายุ ทำให้เราสามารถซื้อจำนวนสลากให้ครอบคลุมรางวัลเลขท้ายได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกลัวว่าเงินต้นเราจะหายไปไหน ทีนี้ลองมาคำนวณดูว่า เราต้องใช้เงินซื้อสลากเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ถึงจะมีเงินใช้ทุกเดือน(ถูกรางวัลทุกเดือน) จากรูปจะเห็นว่า

  • รางวัลต่ำสุดของสลากออมสินคือ "รางวัลเลขท้าย 4 ตัว" ดังนั้นเราต้องซื้อสลากจำนวน 10,000 หน่วย ถึงจะครอบคลุมรางวัลเลขท้าย 4 ตัว สลากออมสิน 1 หน่วยราคา 50 บาท ดังนั้นเราต้องใช้เงินซื้อ 500,000 บาท เพื่อถูกรางวัลเลขท้าย 4 ตัว

xxx0000 - xxx9999 = 10,000 หน่วย
10,000 x 50 = 500,000 บาท

  • รางวัลต่ำสุดของสลาก ธ.ก.ส. คือ "รางวัลเลขท้าย 3 ตัว" ดังนั้นเราต้องซื้อสลากจำนวน 1,000 หน่วย ถึงจะครอบคลุมรางวัลเลขท้าย 3 ตัว สลาก ธ.ก.ส. 1 หน่วยราคา 500 บาท ดังนั้นเราต้องใช้เงินซื้อ 500,000 บาท เพื่อถูกรางวัลเลขท้าย 3 ตัว

xxxx000 - xxxx999 = 1,000 หน่วย
1,000 x 500 = 500,000 บาท

  • ถ้าซื้อสลากออมสินเราจะมีเงินใช้เดือนละ 300 บาท ส่วนสลาก ธ.ก.ส. จะอยู่ที่ 400 บาท
  • เมื่อสิ้นงวดสลากออมสินได้เงินคืน 510,000 บาท ส่วนสลาก ธ.ก.ส. คือ 512,500 บาท
(***ข้อมูล ณ วันที่ 26/7/59***)


     อาจจะมีคนบอกว่า มีเงินขนาดนี้เอาไปฝากประจำกินดอกเบี้ยดีกว่า ก็อาจจะถูกในส่วนนึง แต่อย่าลืมว่า การที่เราเลือกที่จะซื้อสลากเพราะเราต้องการ "เสี่ยงโชค" เพื่อหวังว่าบางทีเราอาจจะถูกรางวัลที่สูงกว่ารางวัลขั้นต่ำก็ได้ ส่วนการที่เราใช้เงินจำนวนเยอะในการซื้อ เพราะเราต้องการการันตีรายได้ขั้นต่ำต่อเดือนนั่นเอง แล้วคราวหน้าเราจะมาเปรียบเทียบกันว่า แล้วสลากออมสินหรือสลาก ธ.ก.ส. ตัวไหนให้ผลตอบแทนสูงกว่ากัน

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พร้อมจ่าย (Prompt Pay) ใช้งานอย่างไรดี (ตอนที่ 2)

             เมื่อคราวที่แล้วผมได้พูดถึงระบบบริการโอนเงินและรับเงินโอนรูปแบบใหม่  ที่ผูกบัญชีเงินฝากธนาคารกับ หมายเลขบัตรประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นแผนยุทธศาตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (เนชั่นแนล อี เพย์เม้นท์) เพื่อพัฒนาระบบชำระเงินและลดต้นทุนการใช้เงินสด นั่นก็คือระบบ Prompt Pay นั่นเอง

              เราได้รู้แล้ว่าระบบนี้คืออะไร ทำงานยังไง ไปเป็นส่วนหนึ่งของมันยังไง และมันมีข้อดี-ข้อเสียยังไงบ้าง  ทีนี้เมื่อเราเห็นข้อเสียมันไปแล้ว เราจะหนี ปิดประตูไม่ไปใช้งาน โดยไม่สนใจข้อดีของมันเลยไหม หรือจะหาทางอยู่กับมัน เลี่ยงข้อเสีย แล้วใช้งานข้อดีของมัน

              วันนี้เราจะมาลองหาวิธีดูว่าเราจะให้งาน Prompt Pay กันอย่างไรดี ถึงจะเลี่ยงข้อเสียและใช้งานข้อดีของมันได้

เลี่ยงข้อเสีย
  1. จะมีคนเข้ามา hack ระบบ Prompt Pay แล้วมาเอาเงินของเราไปไหม: การที่จะ hack ระบบเข้ามาได้ มันต้องผ่านระบบป้องกันของทางธนาคารเข้ามาก่อน ดังนั้นถ้าจะถึงขนาด hack ตัว Prompt Pay ระบบ internet banking หรือ mobile banking คงโดน hack ไปก่อนแล้ว ถึงจะมาถึง Prompt Pay ได้
  2. จะมีคนมาบังคับให้เราโอนเงินจาก Prompt Pay ผ่านมือถือเราไปให้เขาไหม: พยายามลงทะเบียนใช้งาน Prompt Pay ผ่านเลขที่บัตรประชาชน ให้บัญชีนั้นเป็นบัญชีรับเงินอย่างเดียว พยายามอย่าให้บัญชีที่ผูกกับ Prompt Pay มีเงิน เมื่อมีเงินเข้ามา ให้รีบโอนออกทันที
  3. รัฐจะมาสอดส่องการใช้เงินเราได้ไหม: อันนี้มีสิทธิ์เป็นไปได้สูงและหลบไม่ได้ถ้าเราเข้ามาอยู่ในระบบนี้ เพราะระบบนี้รัฐเป็นตัวตั้งตัวตี ทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นผ่านระบบ Prompt Pay จะโดน monitor โดยรัฐหมด แล้วเราจะเลี่ยงตรงนี้อย่างไรดี เราก็อย่าผูกบัญชีหลักไว้กับ Prompt Pay รัฐใช้วิธีหลอกล่อในเรื่องของความสะดวกจนทำให้เราเผลอเอาบัญชีที่ให้บ่อยเช่น บัญชีเงินเดือนไปผูกเอาไว้ ที่นี้หล่ะรัฐจะรู้ทุกการจับจ่ายของเรา
  4.  ถ้าโอนเงินผ่าน Prompt Pay แม้จะธนาคารเดียวกัน ถ้าเกิน 5000 บาทก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม: คนทั่วไปเวลาที่จะโอนเงินข้ามธนาคารจะคอยหว่างเรื่องค่าธรรมเนียม แต่จะเคยชินว่าถ้าเป็นธนาคารเดียวกันจะไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่เมื่อเรามาใช้ระบบ Prompt Pay แม้จะธนาคารเดียวกัน ถ้าโอนเงินกิน 5000 บาทก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมนะครับ วิธีที่ดีที่สุดที่จะเลี่ยงคือ โอนเงินภายในธนาคารเดียวกัน อย่าโอนผ่าน Prompt Pay


รู้หรือไม่ บัญชีเดียวกันสามารถสลับเลือกได้ว่าจะใช้งานผ่านระบบปกติ หรือ ระบบ  Prompt Pay 




จากรูปจะเห็นว่า ทั้ง 2 บัญชีนี้เป็นบัญชีเดียวกัน ต่างกันตรงที่ว่าเข้าใช้งานบัญชีนี้ด้วยระบบอะไร


ใช้งานข้อดี
  1. รับเงินทางรัฐได้อย่างสะดวกการที่เราใช้งาน Prompt Pay ทำให้เรารับเงินจากทางรัฐได้สะดวกเช่น รับเงินภาษีคืน การรับเบี้ยยังชีพทั้งผู้สูงอายุและคนพิการ ทั้งนี้เราควรเปิดบัญชีแยกใช้ผูกกับ Prompt Pay เพื่อรับเงิน และแน่นอนทางรัฐจะทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านทางเลขที่บัตรประชาชน เพราะรัฐจะมีข้อมูลตรงนี้ไว้อ้างอิงตัวตนเราอยู่แล้ว
  2. ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินต่างธนาคารต่ำถ้าโอนเงินต่างธนาคารต่ำกว่า 5000 บาท ไม่เสียค่าธรรมเนียม ดั้งนั้นเราควรใช้บัญชี Prompt Pay เป็นทางผ่านในการโอนเงินเพื่อลดค่าธรรมเนียม ถ้าโอนต่างธนาคาร อันไหนที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องทำผ่าน Prompt Pay
สรุป

ปกติเวลาใช้งาน net bank ตอนลงทะเบียนผูกบัญชี สังเกตเห็นว่า มันมีให้เลือกว่าจะเข้าบัญชีนี้แบบปกติหรือว่าจะเข้าแบบ Prompt Pay (บัญชีเดียวกันเข้าได้ 2 แบบ) ดังนั้น
  • โอนต่างธนาคารหรือต่างพื้นที่ก็ทำผ่าน Prompt Pay
  •  โอนธนาคารเดียวกันพื้นที่เดียวกันก็โอนผ่านระบบปกติหรือไม่ก็โอนหน้าเคาเตอร์


แล้วในระบบ net bank เราสามารถมีได้มากกว่า 1 บัญชี (เช่น มีบัญชีออมทรัพย์ชื่อเดียวกัน แต่คนละสาขา หรือสาขาเดียวกันก็ได้)

 



ที่นี้ใครอยากจะรับสิทธิประโยชน์โดยไม่ยุ่งกับบัญชีหลักก็น่าจะทำแบบนี้ได้
  1. เปิดบัญชีออมทรัพย์ใหม่ขั้นต่ำ(น่าจะ 1000 มั้ง) 
  2. บอกพนักงานไปว่าไม่เอา ATM (ปีนึงค่าธรรมเนียมบัตรต่ำๆก็ตั้ง 300 กว่าบาท)
  3. ขอสมัคร Prompt Pay โดยผูกบัญชีผ่านบัตรประชาชน (เวลารัฐโอนทำผ่านเลขที่บัตรประชาชน)
  4. มื่อสมัครทุกอย่างเรียบร้อย ก็ถอนเงิน 1000 ออกตอนนั้นเลย  
  5. เอาบัญชีนี้ไว้รอรับเงินอย่างเดียว


ทิ้งท้าย
  • ใครก็สมัคร Prompt Pay ได้เพื่อรับสิทธิประโยชน์
  • ไม่จำเป็นต้องผูกกับบัญชีหลัก/บัญชีเงินเดือน เพื่อให้ใครมารู้การเงินของเรา
  • รัฐบอกว่าทำไว้รับความสะดวกจากการรับเงินจากทางภาครัฐ ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักคือเอาไว้รับเงิน
  • สำหรับคนที่มี net bank ให้ใช้บัญชีนี้เป็นทางผ่านเพื่อโอนเงินต่างธนาคาร
  • เราสามารถยกเลิก Prompt Pay ได้ตลอดเวลาถ้าไม่พอใจ

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พร้อมจ่าย (Prompt Pay) ใช้งานอย่างไรดี (ตอนที่ 1)

            ตอนนี้มีกระแสรัฐออกโครงการมาใหม่ชื่อ Prompt Pay หรือ พร้อมเพย์ หรือ พร้อมจ่าย นั่นเอง (ชื่อไม่เป็นมงคลเลย แฮะ....มีเอาไว้ให้เสียตังค์รึไง) แต่เขาก็ชูข้อดีมาเชิญชวนนะว่าอีกหน่อยโอนเงินไม่ต้องจำเลขที่บัญชีแล้ว ข้ามธนาคารก็ไม่เสยค่าธรรมเนียม(ถ้าโอนน้อย) โอนง่ายทำผ่านเบอร์มือถือ เวลารัฐจะโอนเงินค่าต่างๆให้ เช่น เงินคืนภาษี เงินเยียวยาจากภาครัฐ ก็โอนสะดวกเข้าบัญชีของเราได้เลยผ่านเลขที่บัตรประชาชน โอว...มันช่างดีไปหมดไม่เห็นจะมีอะไรไม่ดีที่จะขวางการสมัครของเราเลยแค่เอาบัญชีธนาคารของเราไปผูกไว้แค่นั้นเอง

               แต่ก็มีคนมานั่งคิดๆ เห้ย...แล้วถ้ามีคน hack เข้ามาในระบบพร้อมเพย์เอาเงินในบัญชีเราไปหมดหล่ะ รัฐจะดึงเงินออกจากบัญชีเราไปได้เลยไหม ก็เราดันสมัครใจลงทะเบียนไปแล้วหนิ รัฐจะตรวจเงินเข้าออกของเราแล้วเก็บภาษเพิ่มรึเปล่า ในทุกข้อดีมักจะมีอะไรแอบแฝงอยู่ แล้วเราจะหนีมันเลยหรืออยู่กับมันยังไงให้ปลอดภัยดีหล่ะ มาทำความรู้จัก Prompt Pay กันดีกว่า


PROMPT PAY คืออะไร
เป็นบริการโอนเงินและรับเงินโอนแบบใหม่  โดยผูกบัญชีเงินฝากธนาคารกับ หมายเลขบัตรประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะทำให้ประชาชนโอนเงินสะดวกง่ายขึ้น  แค่จำหมายเลขบัตรประชาชนปลายทางที่จะโอน หรือจำหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ไม่ต้องจดหมายเลขบัญชีเงินฝากธนาคารที่ยาวและจำยาก


PROMPT PAY ทำอะไรได้บ้าง 


ในเฟสแรก เริ่มที่ประชาชนทั่วไปก่อน เพื่อให้บัญชีธนาคารผูกกับบัตรประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งในอนาคตการรับเงินภาษีคืน การรับเบี้ยยังชีพทั้งผู้สูงอายุและคนพิการ ก็ดำเนินการผ่านทาง Prompt Pay เช่นกัน ซึ่งจะไม่ต้องรับเช็คไปสาขาธนาคารเพื่อรับเงินแล้ว เพราะรัฐบาลจ่ายเงินให้เราทาง PROMPT PAY ทันที และยังสามารถโอนเงินให้ญาติ หรือเพื่อนๆกันเอง หรือคนอื่นๆได้ด้วย และจะรองรับโอนเงินกับร้านค้าต่างๆในอนาคต


PROMPT PAY คิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินอย่างไร
  • วงเงินไม่เกิน 5,000 บาทไม่เสียค่าธรรมเนียม
  • วงเงิน 5,001-30,000 บาทคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาทต่อรายการ
  • วงเงิน 30,001-100,000 บาทคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาทต่อรายการ
  • วงเงินมากกว่า 100,000 บาทขี้นไปคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาทต่อรายการ


PROMPT PAY สามารถผูกบัญชีอย่างไรได้บ้าง ?
  •  รูปที่ 1 บัญชีธนาคาร สามารถผูกกับบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือ ได้
  • รูปที่ 2 บัญชีธนาคารผูกกับบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือหลายเบอร์ได้ สูงสุด 3 เบอร์ต่อ 1 บัญชี
  •  รูปที่ 3 หากมี 2 บัญชี ก็ บัญชีนึงผูกกับบัตรประชาชน ซึ่งบัญชีนั้นจะมีความสำคัญในกรณีคืนเงินภาษี หรือรับเงินกับสวัสดิการภาครัฐ  อีกบัญชีนึงผูกกับเบอร์โทรศัพท์มือถือได้สูงสุด 3 เบอร์ ไว้สำหรับโอนเงิน ทำธุรกรรม
  •  รูปที่ 4 สำหรับคนมีบัญชีเยอะและเบอร์มือถือเยอะ ก็สามารถผูกได้ลักษณะนี้ได้ 1 เบอร์ ต่อ 1 บัญชี

แต่อย่างไรก็ตามบริการ PROMPT PAY นี้บัญชีธนาคาร สามารถ ผูกกับบัตรประชาชนได้เพียง 1 ใบ และเบอร์มือถือ 3 เบอร์ ต่อ 1 คนเท่านั้น และ 1 คนที่ใช้บริการ Prompt Pay ผูกกับปัญชีธนาคาร สูงสุดเพียง 4 บัญชี*
(*ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของธนาคาร)
PROMPT PAY สมัครอย่างไร

เตรียมบัญชีออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน + บัตรประชาชน + เบอร์โทรศัพท์มือถือ โดยสามารถลงทะเบียนได้ทั้ง 4 ช่องทาง คือ สาขาธนาคาร , ตู้ ATM , Internet Banking , Mobile Banking ของธนาคารที่คุณใช้บริการอยู่ เริ่มลงทะเบียน PROMPT PAY ทุกธนาคาร 15 กรกฎาคม 2559 (โดยธนาคารบางแห่งเปิดลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ววันนี้ จนถึง 14 กรกฎาคม 2559 และทางธนาคารจะแจ้งผลการสมัครบริการผ่านทาง SMS ตั้งแต่  15 กรกฎาคม 2559 )

                ตอนนี้เราก็รู้ข้อมูลเบื้องต้นไปแล้วว่า Prompt Pay คืออะไร มันทำอะไรได้บ้าง ใช้งานอย่างไร และจะสมัครมันยังไง ทีนี้เรามาลองคิดดูเล่นๆกันว่า Prompt Pay มันดีหรือไม่ดียังไง

ทำไมธนาคารพยายามให้เราสมัคร Prompt Pay
  


                สังเกตไหมว่าทุกๆธนาคาร จะพยายามให้เราลงทะเบียน Prompt Pay เกือบทุกช่องทางไม่ว่าจะตอนที่เรากด ATM ตอนเข้า internet banking หรือตอนที่เข้า mobile banking ก็ขึ้นมาหน้าแรก ซ้ำร้ายถ้าเราเดินไปเปิดบัญชีใหม่ที่สาขาแบบหน้าตางงๆ พนักงานจะบอกว่าให้เราเซ็นต์ลงทะเบียนใช้ Prompt Pay โดยให้เหตุผลว่ารัฐบังคับมาทุกคนต้องลงทะเบียน คืออยากจะบอกว่ารัฐไม่ได้บังคับนะครับ เราปฏิเสธได้ หรือใครที่หลงกลไปแล้วก็ไปยกเลิกได้ บอกไปเลยว่าขอยกเลิกเพราะบัญชีจริงๆแล้วไม่ค่อยได้ใช้ พนักงานก็จะยกเลิกให้โดยดี (ไหนตอนแรกบอกบังคับ) สาเหตุที่ธนาคารพยายามแย่งลูกค้าให้มาผูกบัญชี Prompt Pay ก็คือ
·        ลองนึกดูสิว่าถ้ามีเงินเยียวยาจากภาครัฐโอนมาให้ประชาชน ถ้าธนาคารไหนมีลูกค้าที่ผูกบัญชีไว้กับ Prompt Pay จำนวนมาก เม็ดเงินจำนวนนี้ก็จะไปกองอยู่ที่ธนาคารนั้น เพื่อเอาไปลงทุนทำอะไรต่อ
·        อันนี้ทีเด็ดเลยเราจะเห็นว่าเวลาโอนเงินต่างธนาคารค่าธรรมเนียมจะต่ำมาก แต่รู้หรือไม่ว่าต่อจากนี้ไปเวลาที่เราใช้งาน Prompt Pay ไม่ว่าจะโอนต่างธนาคารหรือธนาคารเดียวกันถ้าโอนเกิน 5,000 บาทเมื่อไหร่ เราก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมนะครับ ใครที่ใช้บริการโอนเงินแบบเดิมเดิมๆจากเคยชินว่าถ้าโอนเงินในธนาคารเดียวกันไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ที่นี้แหละเราจะเสียค่าธรรมเนียมโดยไม่รู้ตัว

จะมีใคร HACK ระบบมาเอาเงินเราไปไหม
                ใครที่ดูหนังต่างประเทศบ่อยๆ จะเริ่มกลัวว่าเมื่อระบบการเงินมันเชื่อมดึงกันหมดแล้ว จะมี hacker มาดูดเงินใน บัญชีเราไปหมดรึเปล่า อันนี้บอกได้เต็มปากเลยว่าไม่แน่ใจ แต่มีโอกาสเป็นไปได้ถึงได้มีคนที่กลัวระบบนี้ แต่ให้คิดเล่นๆ ถ้า Prompt Pay โดน hack พวก mobile banking หรือ internet banking ก็คงไม่รอดเหมือนกัน แต่ตอนนี้เอาที่แน่ๆ ดีกว่า เมื่อเราเข้าระบบ Prompt Pay ธุรกรรมทางการเงินต่างๆที่ผ่านระบบนี้จะถูกตรวจสอบได้จากทางภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินหรือจับจ่ายใช้สอย เช่น การซื้อ-ขายของบน internet ปกติคนซื้อมักจักไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมการโอน พยายามหาร้านค้าที่มีบัญชีธนาคารที่ตรงกับตัวเอง พอมี Prompt Pay ทำให้คนซื้อสะดวก เพราะจะโอนไปธนาคารไหนก็ได้ แต่ทั้งนี้คนขายก็ต้องผูกบัญชีตัวเองไว้กับ Prompt Pay เพื่อรับเงิน ที่นี้แหล่ะ รัฐสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินเพื่อคำนวณภาษีได้แล้ว

   

สรุป
             ข้อดี
·        สะดวกในการรับเงินจากภาครัฐ
·        ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินข้ามธนาคารต่ำ
ข้อเสีย
·        ถึงแม้จะโอนเงินภายในธนาคารเดียวกันแต่ถ้าเกินยอดที่กำหนดก็ต้องเสยค่าธรรมเนียม
·        มีคนคอยตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของเราตลอดเวลา


แหล่งที่มา:
http://www.it24hrs.com/2016/prompt-pay-any-id-e-payment/
https://i2.wp.com/www.techtalkthai.com/wp-content/uploads/2016/04/ttt_hacker_ransomware-Nomad_Soul.jpg?ssl=1
https://14415-presscdn-0-52-pagely.netdna-ssl.com/wp-content/uploads/brandwatch/Bigbrother.jpg







แนะนำตัว

ผมเป็นคนนึงที่อยากมีรายได้มากกว่าเดิม อยากลงทุน สนใจหมดทุกอย่างทั้งการฝากเงิน การซื้อประกัน ลงทุนสลาก เล่นหุ้น เทรด forex เล่นหวย แต่ผมก็กลัวความเสี่ยง เพราะผมมีเงินทุนน้อย เลยพยายามหาข้อมูลในการลงทุนต่างๆว่าทำยังไงถึงจะลดความเสี่ยงให้มากที่สุด ดังนั้นข้อมูลต่างๆที่เอามาลงก็จะศึกษามาจากที่อื่นบ้าง คำนวณเอาเองบ้าง อาจจะผิดๆถูกๆจากหลักการจริง แต่ก็คิดว่าข้อมูลเหล่านี้อาจจะเป็นแนวทางให้เพื่อนๆทั้งหลายใช้เป็นแนวทางในการลงทุนได้ เนื้อหาผมอาจจะกระโดดไปกระโดดมา อยู่ที่ว่าตอนนั้นผมจะสนใจอะไรก็อย่าเพิ่งต่อว่ากันนะครับ