Translate

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พร้อมจ่าย (Prompt Pay) ใช้งานอย่างไรดี (ตอนที่ 1)

            ตอนนี้มีกระแสรัฐออกโครงการมาใหม่ชื่อ Prompt Pay หรือ พร้อมเพย์ หรือ พร้อมจ่าย นั่นเอง (ชื่อไม่เป็นมงคลเลย แฮะ....มีเอาไว้ให้เสียตังค์รึไง) แต่เขาก็ชูข้อดีมาเชิญชวนนะว่าอีกหน่อยโอนเงินไม่ต้องจำเลขที่บัญชีแล้ว ข้ามธนาคารก็ไม่เสยค่าธรรมเนียม(ถ้าโอนน้อย) โอนง่ายทำผ่านเบอร์มือถือ เวลารัฐจะโอนเงินค่าต่างๆให้ เช่น เงินคืนภาษี เงินเยียวยาจากภาครัฐ ก็โอนสะดวกเข้าบัญชีของเราได้เลยผ่านเลขที่บัตรประชาชน โอว...มันช่างดีไปหมดไม่เห็นจะมีอะไรไม่ดีที่จะขวางการสมัครของเราเลยแค่เอาบัญชีธนาคารของเราไปผูกไว้แค่นั้นเอง

               แต่ก็มีคนมานั่งคิดๆ เห้ย...แล้วถ้ามีคน hack เข้ามาในระบบพร้อมเพย์เอาเงินในบัญชีเราไปหมดหล่ะ รัฐจะดึงเงินออกจากบัญชีเราไปได้เลยไหม ก็เราดันสมัครใจลงทะเบียนไปแล้วหนิ รัฐจะตรวจเงินเข้าออกของเราแล้วเก็บภาษเพิ่มรึเปล่า ในทุกข้อดีมักจะมีอะไรแอบแฝงอยู่ แล้วเราจะหนีมันเลยหรืออยู่กับมันยังไงให้ปลอดภัยดีหล่ะ มาทำความรู้จัก Prompt Pay กันดีกว่า


PROMPT PAY คืออะไร
เป็นบริการโอนเงินและรับเงินโอนแบบใหม่  โดยผูกบัญชีเงินฝากธนาคารกับ หมายเลขบัตรประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะทำให้ประชาชนโอนเงินสะดวกง่ายขึ้น  แค่จำหมายเลขบัตรประชาชนปลายทางที่จะโอน หรือจำหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ไม่ต้องจดหมายเลขบัญชีเงินฝากธนาคารที่ยาวและจำยาก


PROMPT PAY ทำอะไรได้บ้าง 


ในเฟสแรก เริ่มที่ประชาชนทั่วไปก่อน เพื่อให้บัญชีธนาคารผูกกับบัตรประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งในอนาคตการรับเงินภาษีคืน การรับเบี้ยยังชีพทั้งผู้สูงอายุและคนพิการ ก็ดำเนินการผ่านทาง Prompt Pay เช่นกัน ซึ่งจะไม่ต้องรับเช็คไปสาขาธนาคารเพื่อรับเงินแล้ว เพราะรัฐบาลจ่ายเงินให้เราทาง PROMPT PAY ทันที และยังสามารถโอนเงินให้ญาติ หรือเพื่อนๆกันเอง หรือคนอื่นๆได้ด้วย และจะรองรับโอนเงินกับร้านค้าต่างๆในอนาคต


PROMPT PAY คิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินอย่างไร
  • วงเงินไม่เกิน 5,000 บาทไม่เสียค่าธรรมเนียม
  • วงเงิน 5,001-30,000 บาทคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาทต่อรายการ
  • วงเงิน 30,001-100,000 บาทคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาทต่อรายการ
  • วงเงินมากกว่า 100,000 บาทขี้นไปคิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาทต่อรายการ


PROMPT PAY สามารถผูกบัญชีอย่างไรได้บ้าง ?
  •  รูปที่ 1 บัญชีธนาคาร สามารถผูกกับบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือ ได้
  • รูปที่ 2 บัญชีธนาคารผูกกับบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือหลายเบอร์ได้ สูงสุด 3 เบอร์ต่อ 1 บัญชี
  •  รูปที่ 3 หากมี 2 บัญชี ก็ บัญชีนึงผูกกับบัตรประชาชน ซึ่งบัญชีนั้นจะมีความสำคัญในกรณีคืนเงินภาษี หรือรับเงินกับสวัสดิการภาครัฐ  อีกบัญชีนึงผูกกับเบอร์โทรศัพท์มือถือได้สูงสุด 3 เบอร์ ไว้สำหรับโอนเงิน ทำธุรกรรม
  •  รูปที่ 4 สำหรับคนมีบัญชีเยอะและเบอร์มือถือเยอะ ก็สามารถผูกได้ลักษณะนี้ได้ 1 เบอร์ ต่อ 1 บัญชี

แต่อย่างไรก็ตามบริการ PROMPT PAY นี้บัญชีธนาคาร สามารถ ผูกกับบัตรประชาชนได้เพียง 1 ใบ และเบอร์มือถือ 3 เบอร์ ต่อ 1 คนเท่านั้น และ 1 คนที่ใช้บริการ Prompt Pay ผูกกับปัญชีธนาคาร สูงสุดเพียง 4 บัญชี*
(*ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของธนาคาร)
PROMPT PAY สมัครอย่างไร

เตรียมบัญชีออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน + บัตรประชาชน + เบอร์โทรศัพท์มือถือ โดยสามารถลงทะเบียนได้ทั้ง 4 ช่องทาง คือ สาขาธนาคาร , ตู้ ATM , Internet Banking , Mobile Banking ของธนาคารที่คุณใช้บริการอยู่ เริ่มลงทะเบียน PROMPT PAY ทุกธนาคาร 15 กรกฎาคม 2559 (โดยธนาคารบางแห่งเปิดลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ววันนี้ จนถึง 14 กรกฎาคม 2559 และทางธนาคารจะแจ้งผลการสมัครบริการผ่านทาง SMS ตั้งแต่  15 กรกฎาคม 2559 )

                ตอนนี้เราก็รู้ข้อมูลเบื้องต้นไปแล้วว่า Prompt Pay คืออะไร มันทำอะไรได้บ้าง ใช้งานอย่างไร และจะสมัครมันยังไง ทีนี้เรามาลองคิดดูเล่นๆกันว่า Prompt Pay มันดีหรือไม่ดียังไง

ทำไมธนาคารพยายามให้เราสมัคร Prompt Pay
  


                สังเกตไหมว่าทุกๆธนาคาร จะพยายามให้เราลงทะเบียน Prompt Pay เกือบทุกช่องทางไม่ว่าจะตอนที่เรากด ATM ตอนเข้า internet banking หรือตอนที่เข้า mobile banking ก็ขึ้นมาหน้าแรก ซ้ำร้ายถ้าเราเดินไปเปิดบัญชีใหม่ที่สาขาแบบหน้าตางงๆ พนักงานจะบอกว่าให้เราเซ็นต์ลงทะเบียนใช้ Prompt Pay โดยให้เหตุผลว่ารัฐบังคับมาทุกคนต้องลงทะเบียน คืออยากจะบอกว่ารัฐไม่ได้บังคับนะครับ เราปฏิเสธได้ หรือใครที่หลงกลไปแล้วก็ไปยกเลิกได้ บอกไปเลยว่าขอยกเลิกเพราะบัญชีจริงๆแล้วไม่ค่อยได้ใช้ พนักงานก็จะยกเลิกให้โดยดี (ไหนตอนแรกบอกบังคับ) สาเหตุที่ธนาคารพยายามแย่งลูกค้าให้มาผูกบัญชี Prompt Pay ก็คือ
·        ลองนึกดูสิว่าถ้ามีเงินเยียวยาจากภาครัฐโอนมาให้ประชาชน ถ้าธนาคารไหนมีลูกค้าที่ผูกบัญชีไว้กับ Prompt Pay จำนวนมาก เม็ดเงินจำนวนนี้ก็จะไปกองอยู่ที่ธนาคารนั้น เพื่อเอาไปลงทุนทำอะไรต่อ
·        อันนี้ทีเด็ดเลยเราจะเห็นว่าเวลาโอนเงินต่างธนาคารค่าธรรมเนียมจะต่ำมาก แต่รู้หรือไม่ว่าต่อจากนี้ไปเวลาที่เราใช้งาน Prompt Pay ไม่ว่าจะโอนต่างธนาคารหรือธนาคารเดียวกันถ้าโอนเกิน 5,000 บาทเมื่อไหร่ เราก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมนะครับ ใครที่ใช้บริการโอนเงินแบบเดิมเดิมๆจากเคยชินว่าถ้าโอนเงินในธนาคารเดียวกันไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ที่นี้แหละเราจะเสียค่าธรรมเนียมโดยไม่รู้ตัว

จะมีใคร HACK ระบบมาเอาเงินเราไปไหม
                ใครที่ดูหนังต่างประเทศบ่อยๆ จะเริ่มกลัวว่าเมื่อระบบการเงินมันเชื่อมดึงกันหมดแล้ว จะมี hacker มาดูดเงินใน บัญชีเราไปหมดรึเปล่า อันนี้บอกได้เต็มปากเลยว่าไม่แน่ใจ แต่มีโอกาสเป็นไปได้ถึงได้มีคนที่กลัวระบบนี้ แต่ให้คิดเล่นๆ ถ้า Prompt Pay โดน hack พวก mobile banking หรือ internet banking ก็คงไม่รอดเหมือนกัน แต่ตอนนี้เอาที่แน่ๆ ดีกว่า เมื่อเราเข้าระบบ Prompt Pay ธุรกรรมทางการเงินต่างๆที่ผ่านระบบนี้จะถูกตรวจสอบได้จากทางภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินหรือจับจ่ายใช้สอย เช่น การซื้อ-ขายของบน internet ปกติคนซื้อมักจักไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมการโอน พยายามหาร้านค้าที่มีบัญชีธนาคารที่ตรงกับตัวเอง พอมี Prompt Pay ทำให้คนซื้อสะดวก เพราะจะโอนไปธนาคารไหนก็ได้ แต่ทั้งนี้คนขายก็ต้องผูกบัญชีตัวเองไว้กับ Prompt Pay เพื่อรับเงิน ที่นี้แหล่ะ รัฐสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินเพื่อคำนวณภาษีได้แล้ว

   

สรุป
             ข้อดี
·        สะดวกในการรับเงินจากภาครัฐ
·        ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินข้ามธนาคารต่ำ
ข้อเสีย
·        ถึงแม้จะโอนเงินภายในธนาคารเดียวกันแต่ถ้าเกินยอดที่กำหนดก็ต้องเสยค่าธรรมเนียม
·        มีคนคอยตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของเราตลอดเวลา


แหล่งที่มา:
http://www.it24hrs.com/2016/prompt-pay-any-id-e-payment/
https://i2.wp.com/www.techtalkthai.com/wp-content/uploads/2016/04/ttt_hacker_ransomware-Nomad_Soul.jpg?ssl=1
https://14415-presscdn-0-52-pagely.netdna-ssl.com/wp-content/uploads/brandwatch/Bigbrother.jpg







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น